รายละเอียดโครงการ

โครงการการพัฒนาสื่อการสอนบนเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์แก่นักเรียนตามแนวคิดเชิงสร้างสรรค์

หลักการและเหตุผล

การศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคนไทยให้มีคุณภาพ รู้เท่าดันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น สามารถดำรงกชกีวิตในสังคกมยุคศตวรรษที่ 21 ที่มีความเจริญก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปรับเปลี่ยนทางสังคมในศตวรรษที่ 21 ได้ส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของคนในสังคมอย่างหลากหลาย ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจประเทศสู่ประเทศไทย 4.0 ซึ่งการศึกษา 4.0 (Education 4.0) เน้านการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสามารถนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกมาบูรณาการเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ สำหรับตอบสนองความต้องการของสังคม ดังนั้น การจัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นพื้นฐานการพัฒนาสู่อาชีพหรือระดัาบอุดมศึกษาในยุคประเทศไทย 4.0 จึงต้องเน้นให้นักเรียนมีศักยภาพ สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เชื่อมโยงความรู้ ทักษะ และค่านิยมที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม รู้จักพึ่งตนเอง เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข ปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม อย่างไรก็ตาม การจะก้าวเข้าสู่ยุค Thailand4.0 ในบริบททกี่เกี่ยวกข้องกับการศึกษา นอกจากการปรับปรุงเรื่องของหลักสูตร ตำรา และบทบาทาาของครูผู้สอนแล้ว สิ่งสำคัญที่ควรจะต้องกระทำ คือการเสริมสร้างทักษะแห่งอนาคตให้กับผู้เรียนด้วย าเพราะทักษะเป็นสิ่งจำเป็ษนสำหรับการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก และสังคมในอนากคกต ซึ่งทักษะที่จำเป็นอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนควรมีคือ ทักษะการสร้างอาชีพและการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ทกักษะการสร้างอาชีพและการเรียนรู้ด้วยตกนเอง เป็นสมรรถกกนะแกนกลางของการศึกษายุค 4.0 ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นผู้ประกอบการ เนื่องด้วยปัจจุบันความเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ (Youth entrepreneurship) เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจในทางวิชาการ และเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ของชาติในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยที่นอกเหนือจากการลดปัญหาการว่างงานในกลุ่มเยาวชน ความเป็นผู้ประกอบการยังก่อให้เกิดการสร้างงาน การสร้างสรรค์นวัตกรรม อันนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจุบันพบว่า กลุ่มเยาวชนไทย กลุ่มวัยรุ่น และวัยทำงานเริ่มต้น มีความปรารถนาที่จะเป็นผู้ประกอบการมากขึ้นโดยมีทัศนคติว่าเป็นอาชีพอิสระ และสามารถสร้างรายได้ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนจึงได้มีการสอดแทรกเนื้อหาศาสตร์ความเป็นผู้ประกอบการไปในระบบการศึกษาทุกระบบ เพื่อสร้างจิตวิญญาณความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship mindset) ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ระดับเยาวชน เพื่อให้มีทักษะ มีความรู้การทำธุรกิจ ทักษะการเป็นผู้ประกอบการจะช่วยเยาวชนเหล่านี้ สามารถต่อยอดในการทำงาน สร้างอาชีพรายได้ให้แก่ตนเองได้ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาว่าด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้น เน้นให้สถานศึกษาหรือโรงเรียนจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัด และความแตกต่างของผู้เรียน อีกทั้งให้ความสำคัญ กับกากรฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือระหว่างผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน ทุกฝ่ายเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ ดังนั้นเพื่อให้การจัดการการศึกษาเป็นไปในทิศทางที่มีคุณค่าต่อตัวผู้เรียน ต่อสังคมในทางสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศให้ดำรงอยู่ในภาวะสังคมโลกที่แข่งขันอย่างรุนแรงเช่นในปัจจุบัน จึงควรเปลี่ยนกระแสการศึกษาใหม่ให้เป็นไปในทิศทางที่ก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ก่อให้เกิดรูปธรรมในการศึกษา ก่อให้เกิดผลผลิตขึ้นในวงการศึกษาแล้วให้ผลผลิตนั้นเป็นผลผลิตเป็นไปในทางสร้างสรรค์ (Creative) เป็นผลผลิตใหม่ ๆ ที่เกิดจากความคิด สติปัญญา วิธีการของการศึกษานั้นๆ

ในปี 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ จึงจัดให้มี โครงการพัฒนาสื่อการสอนบนเทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการกรุ่นเยาว์แก่นักเรียน ตามแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ ภายใต้หัวข้อ "แบบจำลองทางธุรกิจเพื่อชุมชน 9 ข้อ (Community Business Model Canvas : CBMC)" คณะทำงานนำมาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิืดเชิงสร้างสรรค์ โดยมีครูผู้สอนและทีมพี่เลี้ยง เป็นผู้อำนวยความสะดวกจนสามารถสร้างผลิตภาพหรือผลงานที่เกิดจากความรู้ ประสบการณ์ กิจกรรม และความร่วมมือจากนักเรียนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้มีการเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์เพื่อพัฒนาความสามารถทางธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้่นฐาน และโรงเรียนอื่น ๆ สามารถใช้เป็ษนแนวทางในการนำคู่มือไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่สามารถนำความรู้ที่นักเรียนได้เรียนในโรงเรียนเชื่อมโยงกับสภาวะการณ์หรือนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้ ไปพัฒนาตนเอง ครอบครัว ตลอดจนการดำเนินชีวิตในภาพสังคมปัจจุบันได้

วัตถุประสงค์ของโครงการ/กิจกรรม ที่ดำเนินการ

  1. เพื่อให้ครูผู้สอนสามารใช้สื่อการสอนบนเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อการเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์แก่นักเรียน ตามแนวคิดเชิงสร้างสรรค์

  2. เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมเชิงปฏิบัติการไปปรับประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ ตามแนวคิดเชิงสร้างสรรค์

  3. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาการสร้างแผนธุรกิจเพื่อชุมชน ผ่านสื่อการสอนบนเทคโนโลยีแพลตฟอร์มเพื่อการเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นเยาว์ ตามแนวคิดเชิงสร้างสรรค์

กิจกรรมการเรียนรู้

ประกอบด้วย 3 กิจกรรมคือ
1) กิจกรรม
อบรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (E-Learning) หัวข้อ แบบจำลองธุรกิจ (Business Model Canvas :BMC)
2) กิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนธุรกิจเพื่อชุมชน (Community Business Model Canvas :CBMC)
3) กิจกรรมการสร้างแผนธุรกิจเพื่อชุมชน
(Community Business Model Canvas :CBMC)

กลุ่มเป้าหมายของผู้เข้าร่วมโครงการ

  • คณะครูของโรงเรียนอย่างน้อย 1 ท่าน

  • นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เข้าร่วมอบรม E-Learning อย่างน้อยโรงเรียนละ 50 คน และนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมสร้างแผนธุรกิจเพื่อชุมชน อย่างน้อยโรงเรียนละ 3-5 คน

โรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย

  • โรงเรียนชัยเกษมวิทยา จ.ประจวบคีรีขันธ์

  • โรงเรียนธงชัยวิทยา จ.ประจวบคีรีขันธ์

  • โรงเรียนบัวปากท่าวิทยา จ.นครปฐม

ระยะเวลาดำเนินการจัดกิจกรรม

  1. อบรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (E-Learning) สิงหาคม-กันยายน 2565

  2. อบรมเชิงปฏิบัติการ สิงหาคม-กันยายน 2565

  3. สร้างแผนธุรกิจเพื่อชุมชน กันยายน 2565